หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU
ภายในระบบ
หลักสูตร
รายละเอียดประจำวิชา
เอกสารประกอบการสอน
ตำราวิชาการ
บทความวิชาการ

หน้าหลัก » นายนิเทศ สนั่นนารี » ความคิดเห็นของพระภิกษุ-สามเณรที่มีต่อการเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา ของพระภิกษุสามเณร: ศึกษาเฉพาะกรณีคณะสงฆ์ ภาค ๙
 
เข้าชม : ๗๓๔๔ ครั้ง

''ความคิดเห็นของพระภิกษุ-สามเณรที่มีต่อการเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา ของพระภิกษุสามเณร: ศึกษาเฉพาะกรณีคณะสงฆ์ ภาค ๙ ''
 
นายนิเทศ สนั่นนารี และคณะ (2556)

 

ความคิดเห็นของพระภิกษุ-สามเณรที่มีต่อการเรียนพระปริยัติธรรม

แผนกสามัญศึกษา ของพระภิกษุสามเณร: ศึกษาเฉพาะกรณีคณะสงฆ์ ภาค ๙

The Opinion of Monks and Novices toward the Problems of Learning of Students in Primary and High Religious School: A Case Study of the 9th Region Sangha

 

นายนิเทศ  สนั่นนารี

พธ.บ.(ปรัชญา), M.A.(Public Administration)

นายอินตอง  ชัยประโคม

พธ..(ศาสนา), พธ.ม.(พระพุทธศาสนา)

 

บทคัดย่อ

 

งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (๑) ศึกษาความคิดเห็นของพระภิกษุสามเณรที่มีต่อการเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษาในโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษาในเขตการปกครองคณะสงฆ์ ภาค ๙ (๒) เสนอแนวทางการจัดเรียนการสอนที่เหมาะสมกับการเรียนการสอนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา ของพระภิกษุ-สามเณร ในโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา เขตการปกครองคณะสงฆ์ ภาค ๙ กลุ่มประชากรในการศึกษาครั้งนี้คือ พระภิกษุสามเณรที่เป็นนักเรียนในโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษาในเขตปกครองคณะสงฆ์ ภาค ๙ จำนวน ๕๔ โรงเรียน และกลุ่มตัวอย่างจำนวน ๔๑๓ รูป รูปแบบการวิจัยในการศึกษาเป็น ลักษณะการวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive Research) ประเภทการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) เก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามความคิดเห็น วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ วิธีการเชิงสถิติ คือค่าร้อยละ ด้วย โปรแกรมคอมพิวเตอร์ การศึกษาพบว่า ๑. ความคิดเห็นของพระภิกษุสามเณรที่มีต่อการเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษาในโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษาในเขตการปกครองคณะสงฆ์ ภาค ๙ ดังนี้ ๑.๑  โรงเรียนได้จัดตำราเพื่อให้สอดคล้องกับเนื้อหาที่นำมาสอนแก่พระภิกษุสามเณรได้อย่างเหมาะสม ๑.๒  ครูอาจารย์ได้ทำหน้าที่สอนอย่างตรงเวลา และในระหว่างการเรียนการสอนครูมีวิธีกระตุ้นเพื่อดึงดูดความสนใจของผู้เรียนให้กระตือรือร้นในการเรียน ๑.๓  ผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรมยังไม่เปิดโอกาสให้นักเรียนได้แสดงความคิดเห็นต่อครูอาจารย์มากนักอาจเกิดจากระบบเดิมที่ว่าเป็นพระอาจารย์แล้วนักเรียนห้ามวิพากษ์วิจารณ์ครูอาจารย์เด็ดขาด ๑.๔ ครูใช้อารมณ์กับนักเรียนยังมีปัญหากันเล็กน้อยเพราะบางครั้งครูอาจจะใช้อารมณ์ในการสอนมากกว่าเหตุผล ทำให้นักเรียนไม่พอใจ ๑.๕ ครูได้นำเหตุการณ์ปัจจุบันและวิทยาการสมัยใหม่มาสอดแทรกในการเรียนการสอนอยู่ในระดับปานกลาง ๑.๖ ภาครัฐยังสนับสนุนคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตแก่โรงเรียนในพระพุทธศาสนาน้อยมาก ๒. แนวทางการจัดการเรียนการสอนที่เหมาะสมกับการเรียนการสอนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา ของพระภิกษุ-สามเณร ในโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา เขตการปกครองคณะสงฆ์ ภาค ๙ มีดังนี้ ๒.๑ ควรมีการชี้แจงครูที่เป็นคฤหัสถ์ให้มีแนวปฏิบัติที่เหมาะสมในการสอนพระภิกษุและสามเณร ๒.๒ ครูอาจารย์ควรจะสอนให้นักเรียนเข้าใจในเนื้อหาวิชามากขึ้นและควรจัดครูผู้สอนให้ครบตามหลักสูตรรายวิชาที่เปิดการเรียนการสอน และ ๒.๓ ครูอาจารย์ควรจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรการเรียนเพิ่มขึ้น

 

Abstract

 

This research aims to : (1) The opinion of monks and novices about learning Phrapariyattidhamma Studies in Primary and High Religious School in General Education  of  the 9th Region Sangha (2) propose teaching and learning approaches that is appropriate for the teaching Phrapariyattidhamma Studies in Primary and High Religious School in General  Education  of  the 9th Region Sangha.  Population in this study are monks and novices in 54 Primary and High Religious School in General Education  of  the 9th Region Sangha and the 413 sample size of monks and novices. The  form of research study was descriptive method  (Descriptive Research) of the survey (Survey Research), collected by quantitative data, tool used in this study was  questionnaire data  analyzed with the statistical method percentage by a computer program. The study found that 1. The opinion of monks and novices about learning Phrapariyattidhamma Studies in Primary and High Religious School in General Education of the 9th Region Sangha as follows 1.1 The school has a textbooks to fit the content to be taught for monks and novices properly.  1.2 Teachers attended the classes on time and between teaching teachers knew how to motivate students to actively paid attention to the lessons. 1.3 School executive did not allow students to comment on the teachers caused by the old tradition that criticizing  the monkhood teacher strictly prohibited. 1.4 Teachers had emotional conflict with students still be little problem because sometimes teachers may teach with the emotional rather than reasonable explanation caused the students’ dislike. 1.5 Teachers used current situations and modern sciences while teaching at the middle level. 1.6 Government supports less computers and internet for Buddhist schools 2. Teaching Approaches that appropriate for teaching in Primary and High Religious School in General Education of the 9th Region Sangha as follows  2.1 instruct  lay-teachers to know the proper action in teaching the monks and novices 2.2 Teachers should teach students to understand the academic courses and prepare the teachers in accordance with educational curriculum.  2.3 Teachers should hold special projects and activities beside the curriculum.

 

วิธีการวิจัย

 

                  การศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาความคิดเห็นของพระภิกษุ-สามเณรที่มีต่อการเรียนการสอนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา ของพระภิกษุสามเณร: ศึกษาเฉพาะกรณีคณะสงฆ์ ภาค ๙ โดยมีจุดเป้าหมายเพื่อศึกษาความคิดเห็นของพระภิกษุสามเณรที่มีต่อการเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษาในโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษาในเขตการปกครองคณะสงฆ์ ภาค ๙ และเพื่อศึกษาสภาพการเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา ของพระภิกษุ-สามเณร  ในโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา เขตการปกครองคณะสงฆ์ ภาค ๙  โดยประชากรที่ใช้ในการศึกษา จำนวน ๕๔ โรงเรียน จาก ๔ จังหวัด ประกอบด้วย ขอนแก่น กาฬสินธุ์ มหาสารคาม และร้อยเอ็ด โดยมีขั้นตอนในการดำเนินการวิจัย ดังนี้

     ขั้นตอนที่ ๑ จำแนกพื้นที่เป็น๑ เขตปกครองคณะสงฆ์ ภาค ๙ จำนวน ๔ จังหวัด คือ ขอนแก่น มหาสารคาม กาฬสินธุ์ และ ร้อยเอ็ด

     ขั้นตอนที่ ๒ สุ่มกลุ่มตัวอย่างโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา ในเขตปกครองคณะสงฆ์ภาค ๙ จำนวน ๔ จังหวัด แบบเจาะจงรวมเป็น ๕๔โรงเรียน

     ขั้นตอนที่ ๓ สุ่มกลุ่มตัวอย่างนักเรียนผู้ให้ข้อมูลสัมภาษณ์เชิงลึกทั้ง๕๔โรงเรียน  จำนวน ๔๑๓รูป

                        ขั้นตอนที่ สุ่มกลุ่มตัวอย่างนักเรียนผู้ให้ข้อมูลแบบสอบถาม  จำนวน  ๔๑๓  รูป

      เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ความคิดเห็นของพระภิกษุ-สามเณรที่มีต่อเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา ในเขตการปกครองคณะสงฆ์ ภาค ๙ ประกอบด้วย แบบสอบถาม ปลายปิดและปลายเปิด แบ่งเป็น    ตอน ดังนี้

                  ตอนที่ ๑  คำถามปลายปิดเกี่ยวกับข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม จำนวน ๘๖ ข้อ

                  ตอนที่ ๒  คำถามปลายปิดเกี่ยวกับความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา ในเขตการปกครองคณะสงฆ์ ภาค ๙โดยแบ่งระดับของการตอบคำถามเป็นมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) มี ๕ ระดับ คือ มากที่สุด มาก ปานกลาง น้อย และน้อยที่สุด โดยให้ผู้ตอบแบบสอบถามเลือกตอบเพียงระดับเดียวของแต่ละข้อ จำนวน ๘๖ ข้อ

                  การเก็บรวบรวมข้อมูลภาคสนามตามลำดับขั้นตอน ดังนี้

                  ๑) ผู้วิจัยทำหนังสือถึงผู้อำนวยการโรงเรียนพระปริยัติธรรม เพื่อขออนุญาตในการเก็บข้อมูล

                  ๒) จัดเก็บข้อมูลโดยแจกแบบสอบถามให้นักเรียน ของโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา ในเขตปกครองคณะสงฆ์ ภาค ๙ตอบแบบสอบถาม โดยการชี้แจงให้ผู้ตอบแบบสอบถามให้ความร่วมมือในการตอบแบบสอบถามและเก็บรวบรวม ข้อมูลทันทีที่ผู้รับบริการตอบแบบสอบถามเสร็จรวมถึง การสัมภาษณ์นักเรียน เป็นรายบุคคลพระภิกษุสามเณรมีความคิดเห็นอย่างไรบ้างในระบบการเรียนการสอน โรงพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา มีคุณภาพมากน้อยแค่ไหน การดูแลเอาใจใส่ต่อตัวนักเรียน ของผู้บริหารและอาจารย์

การวิเคราะห์ข้อมูลโดยนำแบบสอบถาม (Questionnaire) มาลงรหัส (Coding) และประเมินข้อมูลทางสถิติด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ (SPSS/PC+(Statistical Package for the Social Sciences) การนำเสนอโดยตารางประกอบการพรรณนา และการใช้ค่าสถิติ โดยวิเคราะห์ด้วยสถิติพื้นฐาน เช่น ค่าร้อยละ (Percent) ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)

 

ผลการวิจัย

 

               จากการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการตอบแบบสอบถามของกลุ่มตัวอย่าง สามารถสรุป ผลการวิจัยได้ดังนี้

            ตอนที่ ๑คำถามเกี่ยวกับสถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถาม

            สถานภาพความเป็นนักเรียนของท่านจากการศึกษาพบว่า สถานภาพพระภิกษุสามเณรที่เข้ามาศึกษาเล่าเรียนในโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา ในคณะสงฆ์ ภาค ๙ ส่วนมากเป็นสามเณร ๒๒๑ รูป คิดเป็นร้อยละ ๙๘.๒๒ รองลงมาเป็นพระภิกษุ ๔ รูป คิดเป็นร้อยละ ๑.๗๘ เป็นการสะท้อนให้เห็นว่า ระบบการเรียนการสอนในยุคปัจจุบันไม่มีใครแก่กว่าการเรียน สามารถมาเรียนได้ทุกระดับ ส่วนทางด้านระดับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลายนั้นจากการศึกษาพบว่า พระภิกษุสามเณรกำลังเรียนอยู่ในโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา คณะสงฆ์ภาค ๙ ส่วนมากกำลังเรียนอยู่ในระดับมัธยม ม. ๑ ๖๓ รูป คิดเป็นร้อยละ ๒๘.๐ รองลงมาคือ ม. ๒ ๔๙ รูป คิดเป็นร้อยละ ๒๑.๘ ส่วน ม.๓ ๓๙ รูป คิดเป็นร้อยละ ๑๗.๓ ระดับ         ม.ปลายนั้น เริ่มจาก ม.๔ มี ๒๑ รูป คิดเป็นร้อยละ ๙.๓ ม.๕ มี ๓๕ รูป คิดเป็นร้อยละ ๑๕.๖ ม.๖ มี ๑๘ รูป คิดเป็นร้อยละ ๘.๐ ถ้าเราได้เก็บข้อมูลดี ๆ แต่ละปีแล้วนำมาเปรียบเทียบใส่กันแต่ละปีเราจะรู้ได้ว่านักเรียนเพิ่มขึ้นหรือลดลง จาก มัธยมต้นนักเรียนเราจะเยอะมากพอจะขึ้นมัธยมปลายกลับนักเรียนลดลงอย่างน่าใจหาย

            จากการได้สำรวจและแจกแบบสอบระดับการศึกษานักธรรมพระภิกษุสามเณรที่เรียนอยู่ในโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา คณะสงฆ์ภาค ๙ ส่วนมากพระภิกษุสามเณรสอบได้นักธรรมชั้นโทมากกว่า นักธรรมชั้นตรี -เอก ๑๑๑ จากนักเรียน ๒๒๕ รูปคิดเป็นร้อยละ ๔๙.๓ ส่วนนักธรรมชั้นตรีนั้น สอบได้ ๓๘ รูป คิดเป็นร้อยละ ๑๖.๙ ส่วนนักธรรมชั้นเอก สอบได้ ๗๖ รูป คิดเป็นร้อยละ ๓๓.๘ จะเห็นว่าระดับความรู้ของนักเรียนจะแตกต่างกันมาก จากการสุ่มตัวอย่างแต่ละโรงเรียนในเขตการปกครองคณะสงฆ์ภาค ๙ น่าจะเกิดจากระบบการจัดการเรียนการสอนแต่ละโรงเรียนไม่เหมือนกันหรือว่าเกิดจากนโยบายจึงทำให้การเรียนรู้ของพระภิกษุสามเณรแตกต่างกัน ส่วนการศึกษาบาลีนั้นจากการแจกแบบสอบถามและสำรวจ พบว่า พระภิกษุสามเณรที่เรียนอยู่ในโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา คณะสงฆ์ภาค ๙ ส่วนมากพระภิกษุสามเณรได้เปรียญธรรม ๑-๒  ๑๗๕ รูป ที่สอบได้ คิดเป็นร้อยละ ๗๗.๓ ต้องบอกตามตรงเลยว่าผู้บริหารยังเน้นให้พระภิกษุสามเณรเรียนภาษาบาลีมากกว่าวิชาอื่น เพราะเกินเป้าหมายที่ตั้งเอาไว้ ถึงแม้ จะมีบ้างส่วนที่สอบไม่ได้ จำนวน ๓๘ รูป คิดเป็นร้อยละ ๑๖.๙ แต่ก็ยังน้อยอยู่พอดี ถึงแม้จะเป็นวิชาที่ยากและมีการแข้งขันกันอย่างเข็มข้นก็เป็นวิชาที่ทุกรูปอยากจะเรียนและอยากจะได้เพื่อเป็นเกรียติภูมิแก่วงตระกูล

            ความเห็นที่มีต่อระบบการเรียนการสอนของอาจารย์ในโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา

            ด้านตำราเรียน  แบบเรียนหรือตำราเป็นอุปกรณ์ที่สำคัญ โดยทั่วไปโรงเรียนจะใช้แบบเรียนที่กระทรวงศึกษาธิการกำหนดให้ใช้ โดยมีเนื้อหาสาระตรงตามหลักสูตร นอกเหนือจากนั้น เรียกว่า หนังสืออ่านประกอบ ซึ่งโรงเรียนจะใช้ก็ได้ไม่ใช้ก็ได้ กระทรวงศึกษาธิการไม่ได้บังคับ ปัจจุบันแบบเรียนมีลักษณะแตกต่างกันและมีชื่อเรียกต่างกัน เช่น แบบเรียน แบบสอนอ่าน  หนังสืออ่าน หนังสืออ่านประกอบการเรียน อาจจัดทำเป็นเล่มเดียว เป็นชุด หรือเป็นแผ่น เป็นเทปบันทึกก็ได้ แบบเรียนบางระดับครูผู้สอนสามารถจัดทำขึ้นเองได้โดยการเขียนหรือจัดทำตามเนื้อหาของหลักสูตรรายวิชา แบบเรียนหรือตำราจึงเป็นเครื่องประหยัดเวลาในการสอนของอาจารย์

            ด้านครูสอน  การจัดสถานการณ์ สภาพการณ์ หรือ กิจกรรม เพื่อช่วยส่งเสริมให้ผู้เรียนมีพัฒนาการในด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา รวมทั้งความสามารถด้านอื่น ๆ ที่สามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้ ครูผู้สอนจะต้องมีอารมณ์กับนักเรียนสอนน่าสนใจ ไม่ใช่สอนไปนักเรียนง่วงนอน ยิ่งทำให้นักเรียนไม่อยากจะเรียนมากกว่าเดิม ครูมีความรู้ความเข้าใจอย่างลึกซึ้งและกว้างขวางในรายวิชาที่สอน

            ด้านการบริการของโรงเรียน  โรงเรียนให้นักเรียนประเมินประสิทธิภาพการสอนของครูคำถามด้านโรงเรียนจะเป็นคำถามแบบกว้างเพื่อให้พระภิกษุสามเณรได้ประเมินการมีส่วนรวมระหว่างนักเรียนและโรงเรียน เช่น คำถามที่ว่า โรงเรียนให้นักเรียนประเมินประสิทธิภาพการสอนของครูหรือไหม เพื่อจะได้ประเมินครูอาจารย์ที่มาสอน ผลการประเมินพบว่า อยู่ระหว่างประกลาง จะเห็นว่า ผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรมก็ยังไม่เปิดโอกาสให้นักเรียนได้แสดงความคิดเห็นต่อครูอาจารย์อย่างเต็มที่น่าจะเกิดจากระบบเดิมที่ว่าเป็นพระอาจารย์แล้วนักเรียนห้ามมาวิภาควิจารณ์ครูอาจารย์เด็ดขาด ดังตารางข้างบน  และด้านความเอาใจใส่ของนักเรียนที่เดินทางมาเรียนทุกวันครูจะต้องมีกระบวนการสอนส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้สอนสามารถจัดบรรยากาศ สภาพแวดล้อม สื่อการเรียนและอำนวยความสะดวกเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และมีความรอบรู้ รวมทั้งสามารถใช้การวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้ ทั้งนี้ ผู้สอนและผู้เรียนอาจเรียนรู้ไปพร้อมกันจากสื่อการเรียนการสอนและแหล่งวิทยากรประเภทต่าง ๆ และจะต้องมีกิจกรรมที่หลากหลายเพื่อไม่ทำให้นักเรียนมีความน่าเบื่อหน่ายเวลาเรียนกับครูกิจกรรมที่มุ่งเน้นการเติมเต็มความรู้ ความชำนาญและประสบการณ์ของผู้เรียนให้กว้างขวางยิ่งขึ้น เพื่อการค้นพบความถนัดความสนใจของตนเอง และพัฒนาตนเองให้เต็มศักยภาพ ตลอดจนการพัฒนาทักษะของสังคม และปลูกฝังจิตสำนึกของการทำประโยชน์เพื่อสังคมส่วนในด้านการวัดผลประเมินผลก็เป็นอีกหนทางหนึ่งเป็นตัวชี้วัดผลและเป็นเครื่องมือของครูอาจารย์จะเป็นตัวช่วยของครูอาจารย์ชี้วัดนักเรียนเรียนดีและเก่งอย่างไรส่วนด้านการสื่อการสอนนั้นเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้เหมาะสมอย่างยิ่งใช้ในการสอนในห้องเรียนถึงแม้ว่าปัจจุบันจะมีเครื่องไม้เครื่องเทคโนโลยีที่ทันสมัยมากมายแค่ไหนก็ยังไม่เข้าถึงพระภิกษุสามเณรมากนักเพราะจากการที่ได้สำรวจแจกแบบสอบถามผลการศึกษาพบว่าทุกข้ออยู่ในระดับปานกลาง ทั้งคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต ภาครัฐยังสนับสนุนทางพระพุทธศาสนาน้อยมาก ทำให้พระภิกษุสามเณรที่จะเข้ามาศึกษาบวชเรียนทางพระปริยัติธรรมมีจำนวนและในอนาคตอาจจะลดลง จากการที่ได้แจกแบบสอบถามตามโรงเรียนพระปริยัติธรรมน่าจะสะเทือนไปถึงภาครัฐได้เข้ามาช่วยดูแลและให้ความช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน

            ผลการวิจัยพบว่าสถานภาพพระภิกษุสามเณรที่เข้ามาศึกษาเล่าเรียนในโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา ในคณะสงฆ์ ภาค ๙ ส่วนมากเป็นสามเณรร้อยละ ๙๘.๒๒ และกำลังศึกษาอยู่มัธยมต้น คิดเป็นร้อยละ ๒๘.๐ ส่วนมากสามเณรจะสอบได้นักธรรมชั้นโท ร้อยละ ๔๙.๓ ส่วนแผนกบาลีหรือเปรียญธรรม ส่วนมากสามเณรสอบได้เปรียญธรรม ๑-๒ ร้อยละ ๗๗.๓ ส่วนกิจการในด้านการเรียนการสอนของโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา ในคณะสงฆ์ภาค ๙ นั้น ผลคะแนนเฉลี่ย ๓.๕๘ อยู่ในระดับดี ซึ่งสอดคล้องงานวิจัย [1]สุพัตรา ครองยุทธ และคณะ ศึกษาเรื่อง ความคิดเห็นของนักศึกษาต่อประสิทธิภาพการสอนของอาจารย์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ปีการศึกษา ๒๕๔๕ การเปิดโอกาสให้นักนักศึกษาได้ซักถามและรับฟังความคิดเห็นของนักศึกษา (คะแนนเฉลี่ย ๗๐.๑๔) อาจารย์มีความรู้ในวิชาที่สอนเป็นอย่างดี (คะแนนเฉลี่ย ๗๔.๔๖) และอาจารย์มีความตั้งใจในการสอนมาก (คะแนนเฉลี่ย ๗๗.๖๗) ซึ่งตามเกณฑ์ประกันคุณภาพภายในที่มหาวิทยาลัยกำหนด ส่วนในด้านอุปกรณ์และสื่อการสอน นักศึกษามีความเห็นว่า เอกสารประกอบการเรียนการสอนมีความเหมาะสมในดับมาก (คะแนนเฉลี่ย ๖๑.๒๓) ความเพียงพอและความเหมาะสมของเครื่องคอมพิวเตอร์อยู่ในระดับปานกลาง โดยมีคะแนนเฉลี่ย ๔๓.๒๔ และ๔๒.๔๔ ตามลำดับ

 

ข้อเสนอแนะ

 

               จากการวิจัยครั้งนี้แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนแล้วว่า สถาบันศาสนามีส่วนกระตุ้นเตือนและเสริมสร้างคิดเห็นของพระภิกษุสามเณรที่เข้ามาบวชต่อในระดับสูงขึ้นไป ยังเป็นหนทางที่ช่วยให้ระดับชนล่างที่ไม่มีทุนส่งเสริมลูกได้เรียนระดับสูง จึงได้นำเอาลูกหลานมาบวชเรียน เพื่อจะได้ลดภาระค่าใช้จ่ายทางครอบครัวอีกทางหนึ่ง

                  ๑) ครูอาจารย์ควรจะมีความตั้งใจสอนและให้ความเคารพสามเณรบ้าง

                  ๒) ครูอาจารย์ควรจะสอนให้เข้าใจมากกว่านี้และควรจะเพิ่มครูสอนมากขึ้น

                  ๓).ครูอาจารย์ส่วนมากไม่ค่อยมีกิจกรรมเท่าไรนัก อยากให้มีกิจกรรมส่งเสริมการเรียน

๔) ควรทำวิจัยเรื่องประสิทธิภาพของครูที่จบจากมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยกับครูที่จบจากมหาวิทยาลัยข้างนอกใครมีประสิทธิภาพดีกว่ากัน

 

เอกสารอ้างอิง

 

สุพัตรา  ครองยุทธ และคณะ.  ความคิดเห็นของนักศึกษาต่อประสิทธิภาพการสอนของอาจารย์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ปีการศึกษา ๒๕๔๕.

เทศ  แกล้วกสิกรรม.  หลักการบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา.  กรุงเทพ ฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง, ๒๕๔๘.

สิทธิกร  อ้วนศิริ.  การพัฒนาโมเดลเชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลต่อผลการประเมินคุณภาพภายนอกของโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา, ๒๕๕๒.

พระมหาสิฐวิชฐ์  ปญฺญาปสุโต.  การศึกษาภาวะผู้นำแบบการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา ในจังหวัดนครราชสีมาตามทัศนะของครูผู้สอน, ๒๕๔๗.

พระมหาไพฑูรย์  อินวันนา.  การศึกษาบทบาทของผู้บริหารในการบริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา  สังกัดสํานักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติกลุ่ม ๑. ๒๕๕๒.

ชุติมา  สัจจานันท์.  รูปแบบยุทธศาสตร์และแนวทางการบูรณาการการศาสนากับการศึกษาของวัดในพระพุทธศาสนา: กรณีการจัดการศึกษาตามอัธยาศัย.  กรุงเทพฯ, วี.ที.ชี.คอมมิวนิเคชั่น, ๒๕๔๙.



[1]สุพัตรา ครองยุทธ และคณะ, ความคิดเห็นของนักศึกษาต่อประสิทธิภาพการสอนของอาจารย์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ปีการศึกษา ๒๕๔๕, หน้า ฆ-ง.

(ที่มา: บทความทางวิชาการ)
 
 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕