Mahachulalongkornrajavidyalaya University
MCU Home Search Contacts Study Events Site Map Thai/Eng
 
MCU

First Page » พระมหาบุญหลาย ถาวโร (สร้างนานอก)
 
Counter : 20011 time
การเผยแผ่พุทธธรรมของพระราชปัญญาเมธี (สมชัย กุสลจิตฺโต)(๒๕๔๙)
Researcher : พระมหาบุญหลาย ถาวโร (สร้างนานอก) date : 29/07/2010
Degree : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(ธรรมนิเทศ)
Committee :
  : รศ. ดร.สมาน งามสนิท
  ดร.พรจิต อรัณยกานนท์
  พระมหาต่วน สิริธมฺโม
Graduate : ๓๑ / ตุลาคม /๒๕๔๙
 
Abstract

     งานวิจัยนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อเผยแผ่พุทธธรรมของพระราชปัญญาเมธี (สมชัยกุสลจิตฺโต) ศึกษาความสอดคล้องตามหลักนิเทศศาสตร์และปัจจัยความนิยมในการเผยแผ่พุทธธรรม ผลการวิจัยพบว่า
๑. รูปแบบการเผยแผ่พุทธธรรมของพระราชปัญญาเมธีมีอยู่ ๕ ประเภท ได้แก่การปาฐกถา การบรรยาย การสัมมนา การสัมภาษณ์ และการแสดงพระธรรมเทศนา ส่วนการสื่อสารเพื่อการเผยแผ่มี ๒ รูปแบบ (๑) สื่อสิ่งพิมพ์เป็นช่องทางในการเผยแผ่พุทธธรรมในรูปแบบของ หนังสือ บทความ หนังสือพิมพ์ นิตยสารต่างๆ (๒) สื่ออิเล็กทรอนิกส์ ผ่านรายการวิทยุ รายการโทรทัศน์ พบว่าก่อนที่ท่านจะออกรายการทุกครั้งมีการเตรียมข้อมูลเนื้อหาของธรรมะเพื่อให้สามารถเข้าสู่ผู้ฟังได้อย่างชัดเจน มีการนำเสนอทั้งภาษาไทยภาษาอังกฤษ และภาษาบาลี ซึ่งการนำเอาสำนวนหลักพุทธธรรมมาใช้มี ๕ ประเภท คือพุทธศาสนสุภาษิต สุภาษิต คำคม คำกลอน และการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อเผยแผ่ธรรมะ
๒. ความสอดคล้องตามหลักนิเทศศาสตร์ในการเผยแผ่พุทธธรรม พบว่าความนิยมในตัวพระราชปัญญาเมธีในฐานะผู้ส่งสารว่า ท่านมีทักษะ ทัศนคติ ความรู้ที่ดีรู้จักระบบสังคมและวัฒนธรรมที่ถูกต้อง รู้จักใช้รหัสสาร คือ สื่อนำไปสู่กลุ่มผู้ฟังธรรมที่ถูกต้อง นำเสนอเนื้อหาสารสอดคล้องเรียบร้อยตามลำดับ ส่วนปัจจัยความนิยมช่องทางสารนั้นที่ช่วยทำให้ท่านสื่อสารได้ประสบผลสำเร็จ อาศัยช่องทางสื่อวิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์บทความต่างๆ และความสอดคล้องผู้รับสารที่ได้รับความนิยม คือการรู้จักความแตกต่างของผู้รับสาร
๓. ปัจจัยความนิยมในการเผยแผ่พุทธธรรม พบว่า ความนิยมในตัวผู้ส่งสารคือพระราชปัญญาเมธีมี ๒ ประการ ได้แก่ (๑) ปัจจัยด้านบุคลิกภาพ มีความเคร่งครัดพระธรรมวินัย กล้าเสนอแนวทางเพื่อสังคม มีความบริสุทธิ์ใจต่อพระศาสนา รู้จักตอบแทนบุญคุณมารดา และเป็นคนเปิดเผย (๒) ปัจจัยด้านคุณภาพ เป็นผู้มีคุณวุฒิทางการศึกษาทั้งทางธรรมเป็นเปรียญธรรม ๙ ประโยค ทางโลกจบปริญญาเอก ความเป็นนักวิชาการเต็มตัวทางศาสนาและปรัชญา มีความตั้งใจทำงานเพื่อพระพุทธศาสนา และรู้จักวิธีการใช้คนทำงาน ปัจจัยที่ได้รับความนิยมด้านตัวสาร คือท่านรู้จักวิธีการใช้รหัสสื่อสาร เพื่อนำเสนอเนื้อหาของสารการจัดเรียงลำดับความสำคัญของสาร และความแตกต่างของตัวสารที่จะนำเสนอสู่ผู้ฟัง ส่วนปัจจัยความนิยมด้านช่องทางสื่อ มีการพบปะกับนักวิชาการเพื่อเสนอความคิดเห็นรู้จักสังเกตสภาพแวดล้อม ความเหมาะสมเพื่อที่จะนำเสนอสื่อสารพุทธธรรมเข้าถึงผู้รับได้ และปัจจัยความนิยมด้านผู้รับสารมาจากการยอมรับบทบาทท่านในฐานะนักวิชาการที่มีความรู้ ทำให้
ได้รับนิมนต์ไปแสดงธรรมะยังสถานที่ต่างๆ ยอมรับว่าท่านรู้จักวิธีการประยุกต์ใช้พุทธธรรมให้เข้ากับยุคสมัยมาก ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มผู้รับสารนักวิชาการ ประชาชนทั่วไป และวัยรุ่นก็ฟังธรรมะของท่านได้และเข้าใจดีทุกคน
Download :  254975.pdf

Download :
 
 
Copyright © Mahachulalongkornrajavidyalaya University All rights reserved 
Maintained by: webmaster@mcu.ac.th 
Last Update : Thursday February 9, 2012